การพ่นหมอกควัน

การพ่นหมอกควัน


การพ่นหมอกควัน จะใช้ความร้อนช่วยในการแตกตัวของน้ำยาออกเป็นละอองเม็ดเล็กๆ เมื่อสารเคมีแตกตัวจะถูกแรงลมเป๋าทำให้ฟุ้งกระจายในรูปหมอกควัน ขนาดเม็ดน้ำยา (Droplets) มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 10 - 60 ไมครอน(สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก, ๒๕๔๔ หน้า ๑๐๑) วีธีการพ่นหมอกควันจะกำจัดยุงได้ดีนั้นจะต้องปิดอบควันในบ้านอย่างน้อย ๓๐ นาที คนและสัตว์เลี้ยงทุกชนิดต้องออกมาอยู่นอกบ้าน และควรเก็บเสื้อผ้า อาหาร ให้มิดชิดเพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสกับสารเคมี เครื่องพ่นหมอกควันมีทั้งแบบติดตั้งท้ายรถยนต์และแบบสะพายไหล่

หลักการใช้งานทั่วไปของเครื่องพ่นหมอกควัน

การสตาร์ทเครื่อง
1. ก่อนสตาร์ทเครื่องตรวจสอบความเรียบร้อยของเครื่องว่ามีอุปกรณ์ครบถ้วน
2. เติมน้ำมันเบนซิน 91 (หรือแก๊สโซฮอลล์ 95) และน้ำยาเคมีเสียก่อน โดยใช้การกรอง (ควรแยกกันคนละ
กรวยกรอง) ให้มีช่องว่างอากาศ 1-2 ซม. จากขอบบนของถัง ปิดฝาถังทั้งคู่ ให้สนิท เปิดน้ำมัน
3. ตรวจดูระบบไฟโดยกดสวิทซ์ไฟแล้วฟังเสียง หรือถอดหัวเทียนมาทดสอบเช็คกับกราวน์ว่ามีไฟสปาร์คหรือไม่
4. ปิดวาล์วควบคุมการไหลของน้ำยาเคมี และวาล์วน้ำมัน
5. กรณีเครื่องที่ต้องมีแรงดันในถังน้ำมัน ทำการสูบลมสูบอัดลม 3-5 ครั้ง (กรณีเครื่องที่มีสวิทซ์ไฟ หลายทางให้ปรับมาอยู่ในตำแหน่งใช้งาน
6. เปิดวาล์วน ามันตามที่ก าหนด
7. สูบอัดลมต่อไปเรื่อยๆ (อย่ากระแทก) พร้อมทั งกดปุ่มควบคุมกระแสไฟ (ถ้ามี) เครื่องจะติดเอง เมื่อน ามัน
เคลื่อนขึ นมาผสมกับอากาศในอัตราส่วนที่พอดีในคาร์บูเรเตอร์
8. เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ทำการอุ่นเครื่อง ประมาณ 1-2 นาที เพื่อให้เครื่องเดินเรียบและ เป็นการปรับ
อุณหภูมิในท่อพ่นให้คงที่
9. การปล่อยน้ำยาเคมี ทำโดยยกคันปล่อยน้ำยา หรือเปิดวาล์วน้ำยา แล้วแต่ชนิดเครื่อง
การปล่อยน้ำยา การพ่นยุงลายต้องพ่นในบ้านจากห้องในก่อน เปิดน้ำยาแล้วเดินถอยหลังออกมา ถ้าเครื่องดับขณะกำลังพ่น ต้องรีบปิดวาล์วน้ำยาเคมี แล้วรีบนำเครื่องออกมายังที่โล่งโดยด่วน เพราะไฟจะลุกที่ปลายท่อและทำให้รีบแก้ไขตามวิธีการดับเครื่อง แต่ถ้าน้ำยาไม่ออกหรือไม่มีควันให้ดับเครื่องแล้วตรวจดูท่อส่งน้ำยาอาจอุดตันทำโดยถอดท่อน้ำยาตรงบริเวณหัวฉีด (nozzle แล้วตรวจดูว่ามีอะไรอุดตันหัวฉีด หรือไม่หากมีเศษผงติดให้ใช้ลมเป่าออก (ห้ามใช้ปากเป่า)

การดับเครื่อง

1. ปิดวาล์วปล่อยน้ำยาเคมี และปล่อยให้เครื่องทำงานจนหมอกควันออกหมดแล้ว
2. ปิดวาล์วน้ำมัน เครื่องก็จะดับ
3. เปิดคลายฝาถังน้ำยาเคมี และถังน้ำมันเพื่อนปล่อยแรงดัน

หมายเหตุ : ถ้าดับเครื่องขณะน้ำยาเคมียังไหลอยู่ น้ำยาเคมีจะลุกเป็นไฟจะเกิดไฟลุกไหม้ การแก้ไข : ปิดวาล์วน้ำยาเคมี คลายฝาถังน้ำยาเคมีเพื่อไล่ความดัน ในถังน้ำยาออกแล้วจึงปิด ดังเดิม แล้วให้สูบสตาร์ทเครื่องใหม่ต่อไปเลย (ไม่ต้องเปิดวาล์วน้ำยาแล้ว) เมื่อเครื่องติดความร้อนในท่อจะ มา เผาน้ำยาที่หยดเกิดออกมาจนไฟลุกให้ถูกเผากลายเป็นหมอกควันออกไป พอไฟดังและเครื่องเป็นปกติดี แล้วจึงค่อยปิดวาล์วน้ำมันให้เครื่องดับ การพัก : หากเสร็จงานแล้วควรพักเครื่องให้เย็นดีก่อนสัก 30 นาที ค่อยขนใส่รถกลับ การดูแลแก้ไขหัวเทียน ให้ใช้กระดาษทรายละเอียดเช็ดเขม่าดำที่เปื้อนบริเวณเขี้ยวหัวเทียนออกให้สะอาดและควรตั้งค่าความ ห่างของเขี้ยว ประมาน 0.06 นิ ว หรือ 1.5 มิลลิเมตร ห้ามต้ังน้อยกว่านี หรือขับจนแน่นเกินไป

ความคิดเห็น