ชนิดของยุงและความสำคัญ

ชนิดของยุงและความสำคัญ 


๑.ชนิดของยุงและความสำคัญ
๑.๑ ชนิดของยุง ส่วนในประเทศไทยมียุง ประมาณ ๔๕๐ ชนิด แบ่งเป็น ๓ กลุ่มใหญ่ๆ คือ ๑. ยุงยักษ์ (Toxorhynchitinae) ๒. ยุงก้นปล่อง (Anophelinae) ๓. ยุงลายและยุงรำคาญ (Culicinae) ซึ่งยุงแต่ละชนิดจะมีลักษณะและพฤติกรรมไม่เหมือนกัน เช่น ยุงลายชอบหากินตอนกลางวัน ยุงกันปล่องและ ยุงร่ำคาญจะซอบหากินตอนกลางคืน ส่วนยุงยักษ์ไม่ดูดเลือด กินแต่น้ำหวาน เป็นยุงที่มีประโยชน์เนื่องจาก ลูกน้ำยุงยักษ์ช่วยกินลูกน้ำยุงพาหะ ๑.๒ ยุงพาหะเป็นพาหะที่สำคัญ โรคที่สำคัญดังนี้
  • ยุงลาย - ไข้เลือดออก, ชิคุนกุนยา, ไข้เหลือง, ไข้ซิก้า
  • ยุงเสือ - โรคฟิลาเรียหรือโรคเท้าช้างยุงรำคาญ - โรคฟิลาเรีย, ไข้สมองอักเสบ
  • ยุงกันปล่อง - ไข้มาลาเรีย
๑.๓ วงจรชีวิต ยุงมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ๔ ระยะ คือ ระยะไข่ (egg) ระยะลูกน้ำ (lara) ระยะตัวโม่ง (pupa) และระยะตัวเต็มวัย (adult) ระยะไข่ (egg) ระยะไข่ใช้เวลา ๑ - ๓ วันจึงฟักออกมาเป็น ลูกน้ำ ในยุงบางชนิด เช่น ยุงลาย ไข่สามารถอยู่ในสภาพแห้งได้หลายเดือนจนกระทั่งเป็นปีเมื่อมีน้ำก็จะฟัก ออกมาเป็นลูกน้ำ แหล่งวางไข่ของยุงแต่ละชนิดแตกต่างกัน เช่น ยุงลายชอบวางไข่ ติดข้างภาชนะที่มีน้ำชัง ไข่เป็นฟองเดี่ยว ยุงรำคาญชอบวางไข่ในแหล่งน้ำสกปรก ไข่เป็นแพมีหลายฟอง
๑.๔ อาหารและช่วงเวลาหากิน ยุงตัวเต็มวัยทั้งสองเพศ กินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ ก็สามารถดำรง ชีวิตอยู่ได้แต่ยุงตัวเมียส่วนใหญ่จำเป็นต้องกินเลือดคนหรือสัตว์เพื่อช่วยในการ เจริญของไข่ นอกจากนี้พบว่าช่วงเวลาที่ยุงออกหากินก็ไม่เหมือนกัน เช่น ยุงลาย ชอบหากินในเวลากลางวัน ยุงรำคาญ ชอบกินในเวลากลางคืน ยุงแม่ไก่ชอบหากิน ตอนพลบค่ำและย่ำรุ่ง ดังนั้นในการพ่นสารเคมีกำจัดยุงจึงต้องพ่น ในเวลาที่ยุงออกหากิน ๑.๕ อายุของยุง ยุงตัวผู้มักมีอายุสั้นกว่ายุงตัวเมีย โดยยุงตัวผู้มีอายุประมาณ ๑ สัปดาห์ ส่วนยุงตัวเมียมีอายุ ๑ - ๕ เดือน อายุขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น ฤดูกาล อาหาร กิจกรรมของยุง ช่วงฤดูร้อน ยุงอายุสั้นแต่เชื้อโรคในตัวยุงจะเจริญเติบโตเร็วกว่า ในฤดูหนาว ทำให้ยุงสามารถนำเชื้อโรคมาสู่คนได้ตลอด ทั้งปี
๑.๖ ความรู้เบื้องต้นเรื่องโรคไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อ ไวรัสเดงกึ่ มียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงกัดคนที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก ก็จะแพร่เชื้อสู่คน โรคนี้ระบาด ในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวัน ชอบวางไข่ในน้ำสะอาดที่นิ่งๆ ตามภาชนะ ที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง โอ่ง จานรองขาตู้กับข้าว

๑.๖.๑ อาการของโรคข้เลือดออก แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ๑. ระยะไข้ ลักษณะ
เป็นไข้สูงเฉียบพลัน ๓๙ - ๔๑ องศาเป็นเวลา ๒ - ๗ วันผู้ป่วยที่เป็นเด็กอาจจะมีอาการซักได้ หน้าจะแดง ไม่มีน้ำมูกหรือไอในเด็กโตจะบ่นปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ เบื่ออาหาร อาเจียน เลือดออกตับโตและกดเจ็บ แต่ตัวไม่เหลืองมีผื่นตามตัว ส่วนใหญ่จะไม่มีน้ำมูกไหลหรือไปทำให้แยกจากไข้หวัด ในระยะไข้ อาการทางเดินอาหารที่พบได้บ่อยได้แก่อาการเบื่ออาหารอาเจียน บางรายมีอาการท้องร่วงร่วมด้วย ในระยะแรกจะปวดทั่วไปแต่ต่อมา
จะปวดชายโครงข้างขวาเนื่องจากตับโตไข้ส่วนใหญ่จะอยู่ลอย ๒-๗ วัน ประมาณร้อยละ ๗๐ จะมีไข้ ๔-๕ วัน
รายที่มีอาการเร็วที่สุดคือ ๒ วัน ร้อยละ ๑๕ จะมีไข้เกิด ๗ วันอาการเลือดออกที่พบบ่อยที่สุด คือจุดเลือดออก
ตามผิวหนังเนื่องจากเส้นเลือดเปราะ หรือทำการทำ toumiquet test จุดเลือดออกจะพบตามแขน ขา ลำตัว รักแร้
อาจจะมีเลือดกำเดา เลือดออกตามไรฟัน อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด ๒. ระยะวิกฤติหรือระยะช็อคระยะวิกฤติ
หรือระยะช็อคมักจะเกิดขึ้นพร้อมกับที่ไข้เริ่มจะลงเกิดจากการรั่วของพลาสม่ โดยจะรั่วประมาณ ๒๔ ๔๘ ชั่วโมง
ประมาณหนึ่งในสามจะมีอาการรุนแรงมีภาวะความดันโลหิตต่ำเนื่องจากเกิดการรั่วของพลาสมาไปยังปอดหรือ
ช่องท้องซึ่งจะเกิดพร้อมๆกับไข้ลง ซึ่งอาจจะเกิดได้ตั้งแต่วันที่ ๓ - ๘ ของไข้ ผู้ป่วยจะกระสับกระส่าย มือเท้า
เย็น ชีพขจรเร็ว ความดันโลหิตต่ำความดันโลหิตลดลงมากกว่า ๒0 มม.ปรอท ผู้ป่วยไข้เลือดออกที่อยู่ในภาวะ
ช็อกจะรู้สติดี พูดรู้เรื่องอาจจะบ่นกระหายน้ำบางรายอาจจะมีภาวะปวดท้อง ภาวะช็อกจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ถ้าไม่ได้รับการดูแลรักษาผู้ป่วยจะมีอาการเลวลงอย่างรวดเร็ว รอบปากเขียวผิวสีม่วง ตัวเย็น วัดความดันไม่ได้
ผู้ป่วยจะเสียชีวิตใน ๑๒-๒๔ ชั่วโมงในรายที่ไม่รุนแรงผู้ป่วยจะดีขึ้น บางรายอาจจะมีเหงื่อออกมือเท้าเย็น
ชีพขจรเบาเนื่องจากมีการรั่วของพลาสมาไม่รุนแรงจึงไม่เกิดอาการช็อก ๓. ระยะพักฟื้นระยะพักฟื้นตัวของ
ผู้ป่วยค่อนข้างเร็วในผู้ป่วยที่ไม่ช็อคเมื่อไข้ลดลงอาการจะดีขึ้นผู้ป่วยเริ่มอยากจะรับประทานอาหารเริ่มปัสสาวะ
มากขึ้น ชีพขจรช้าลง ส่วนผู้ป่วยที่ช็อกหากได้รับการรักษาที่ทันเวลาจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว การรั่วของพลาสมา
จะหยุดความดันโลหิตจะสูงขึ้น ชีพขจรช้าลง ปีสสาวะมากขึ้นผู้ป่วยจะอยากรับประทานอาหาร ระยะฟื้นตัว
ใช้เวลา ๒-๓ วัน
๑.๖.๒ การรักษาโรคไข้เลือดออกเนื่องจากโรคนี้ยังไม่มีการพัฒนายาหรือ
วัคซีนฆ่าเชื้อไวรัส การรักษาโรคนี้จึงเป็นไปตามอาการสำคัญ กล่าวคือหากมีไข้ก็จะกินยาลดไข้และเช็ดตัว
๑.๖.๓ การป้องกันโรคไข้เลือดออก ควรจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดแหล่งเพาะพันธุ์
ยุงลายพาหะตัวร้าย โดยการขจัดแหล่งน้ำขังที่อาจจะมีอยู่ในบริเวณบ้าน เช่น แจกันดอกไม้ บ่อเลี้ยงปลา และ
ยุงลายมักออกหากินในเวลากลางวันหากในบ้านมีพื้นที่น้ำขัง หรือมีการใช้สอยส่วนใดที่จำเป็นต้องมีน้ำ เช่น
บ่อน้ำเล็กๆ ในสวน ควรใส่ผงยากำจัดยุงลายลงในน้ำเพื่อกำจัดยุงลายตั้งแต่เป็นลูกน้ำ

ความคิดเห็น